วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review การเปลียนพัดลม Power Supply

  Review การเปลียนพัดลม Power Supply
         
        สวัสดีค่ะ...กลับมาพบกันอีกแล้วนะค่ะ...ในบล็อกนี้จะมา Review  การเปลียนพัดลม Power Supply แต่!!!!....ไม่ได้เปลี่ยนอย่างเดียวนะค่ะ ยังมีการสลับพัดลมกับของเพื่อนอีกนะค่ะ....
        อยากรู้แล้วละสิว่าจะออกมาในรูปแบบไหน...จะได้หรือไม่ได้..."โปรดติดตามได้เลยนะค่ะ"

นี่คือโฉมหน้าผู้  Review นะค่ะ



ก่อนอื่น เรามารู้จักกับ พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply) กันก่อนนะค่ะ

        แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX

ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
·         AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
·         ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
·         ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
·         ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
·         ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น

หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
         พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำโดยจะผ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อต

เรารู้จัก Power Supply ไปแล้วนะค่ะ...ต่อไปมาดูการปฏิบัติจริงกันเลยค่ะ


   

  
ขั้นตอนที่ 1 แกะ  Power Supply ออกจากเคสก่อนนะค่ะ




  

  
ขั้นตอนที่ 2 เรามาก็มาแกะพัดลมของ Power Supply ออกก่อนนะค่ะ


เมื่อแกะออกมาแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้นะค่ะ...




  
  

ขั้นตอนที่ 3 เราจะเอาสายไฟสีดำกับสีแดงที่เชื่อมอยู่กับตะกั่ว โดยการใช้หัวแร้งทำให้ตะกั่วละลาย แล้วใช้กระบอกดูดตะกั่วดูดตะกั่ว ดูดตะกั่วขณะที่ตะกั่วยังร้อนอยู่ คำเตือน เด็กๆ ที่ดู อย่าทำตามลำพังนะค่ะ อันตรายมาก ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำนะค่ะ



 
 

 

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนนี้เอาพัดลมที่เราเอาออกมาแล้วสลับกับเพื่อน แล้วนำสายไฟทั้งสีแดงและสีดำ มาเชื่อมต่อเข้ากับแผงโดยใช้หัวแร้งและตะกั่วบัดกรีใช้ในการเชื่อม เมื่อทำการเปลี่ยนเสร็จแล้วก็นำไปทดสอบว่า พัดลมใช้งานได้หรือไม่ โดยนำวัตถุที่เป็นโลหะ(ใช้แหนมที่อยู่ในกล่องไขควง) มาเสียบใส่ช่อง 14 (สายสีเขียว)และ ช่อง 15 (สายสีขาว)






 
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อทดสอบว่าพัดลมใช้ได้แล้ว เราก็ประกอบเข้ากับเครื่อง Power Supply ให้เรียบร้อย แล้วนำไปประกอบเข้ากับเคสให้สมบูรณ์....เป็นอันว่าเสร็จสิ้นภาระกิจ....




ก่อนจากกันไปในสัปดาห์นี้...ที่ขาดไม่ได้คือต้องขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนของเรานะค่ะ...ที่ทำให้ภาระกิจในวันนี้เสร็จสิ้นลุล่วงไปได้ด้วยดี....


...เจอกันใหม่...ในบล็อกหน้านะค่ะ....ขอขอบคุณที่ให้การรับชมค่ะ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น